มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - ศิษย์คิดล้างครู
มุสิละกราบทูลว่า ตนมีความสามารถพอๆ กับอาจารย์ จึงไม่ขอรับเงินเดือนที่ต่ำกว่าอาจารย์ ขอให้พระองค์พระราชทานเท่ากับอาจารย์เถิด พระราชาตรัสว่า เจ้าอย่าพูดอย่างนั้น ธรรมดาอาจารย์ต้องได้รับมากกว่าศิษย์ มุสิละก็ ไม่ยอม จากนั้นก็ออกไปประกาศให้มหาชนไปเป็นสักขีพยาน ในการประลองฝีมือการดีดพิณระหว่างตนกับอาจารย์
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - พญานกแขกเต้า
เมื่อพราหมณ์เห็นพญานกแล้ว ก็อุ้มมานั่งบนตักด้วยความรัก แล้วกล่าวว่า นก แขกเต้าเอ๋ย ท้องเจ้าคงจะใหญ่กว่าท้องของนกตัวอื่นเป็นแน่ ถึงกินข้าวของเรา แล้วยังคาบเอากลับไปอีก เจ้ามีฉางสำหรับเก็บข้าวไว้หรือ หรือว่าเรามีเวรต่อกันมาก่อน
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - เวลาอันทรงคุณค่ายิ่ง
มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่า “เอสุการี” พระองค์มีปุโรหิตเป็นสหายรักตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ทั้งพระราชาและปุโรหิตต่างไม่มีพระโอรสที่จะสืบสกุล วันหนึ่ง พระราชาและปุโรหิตปรึกษาหารือกันว่า ถ้าหากบุตรของใครเกิดก่อน บุตรของคนนั้นจะได้ครอบครองราชสมบัติ
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เศรษฐีผู้มีใจตระหนี่
คนตระหนี่กลัวความยากจนย่อมไม่ให้อะไรแก่ผู้ใด ความกลัวจนนั่นแหละ จะเป็นภัยแก่ผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัวความอยากข้าวอยากน้ำ ความกลัวนั่นแหละจะกลับมาสู่คนพาลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทินกำจัดความตระหนี่เสียแล้วให้ทานเถิด เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ไม่ควรดูหมิ่นบุญ
ขึ้นชื่อว่าบุญ อันใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย บุคคลถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าเล็กน้อย เพราะว่าบุคคลผู้ฉลาดในการทำบุญ ย่อมเต็มเปี่ยมไปด้วยบุญโดยลำดับ เปรียบเหมือนภาชนะที่เปิดฝา ย่อมเต็มไปด้วยน้ำ ฉะนั้น
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง - ผลของความเพียรพยายาม
ความขยันหมั่นเพียร เป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จทุกประการ บุคคลผู้มีความเพียรไม่เบื่อหน่ายในการงานที่ตนกระทำ หมั่นฝึกฝนอบรมคุณธรรม สั่งสมความดี ประกอบบุญกุศลอยู่เป็นนิตย์ ย่อมได้รับความสุขและความสำเร็จ บุญกุศลที่ทำไว้จะเป็นเสบียงติดตัวข้ามภพข้ามชาติ ข้ามห้วงวัฏสงสารอันยาวไกล
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง - ผู้ไม่เกียจคร้าน
ในสังคมของชาวโลกนั้น ความสำเร็จของงานเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนต่างปรารถนา งานทุกอย่างจะสำเร็จได้เป็นอย่างดี จะต้องอาศัยธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ซึ่งธรรมบทนั้นได้แก่ อิทธิบาท ๔ คือ มีความรักในงานที่จะทำ เห็นความสำคัญของงานนั้น และใช้ความเพียรพยายาม มุมานะ อีกทั้งมีความเอาใจใส่ พิจารณาตรวจตรางานอยู่เสมอและหมั่นปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้แล้ว ย่อมบรรลุผลที่ตั้งใจอย่างแน่นอน
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - พูดดีเป็นศรีแต่ตัว
เรื่องราวของนายพรานผู้เป็นบัณฑิต ที่ถูกลูกเศรษฐีทั้ง ๔ คน มาขอชิ้นเนื้อที่ตนหามาได้ โ็ดยที่ลูกเศษฐีจะผลัดกันเข้ามาขอทีละคน ดูว่าใครจะได้เนื้อส่วนไหน แล้วนายพรานได้ใช้วาจาที่ลูกเศรษฐีแต่ละคนพูดนั้นเป็นเครื่องตัดสินว่าจะให้ส่วนใดของชิ้นเนื้อ หลังจากเหตุการณ์นี้ผ่านพ้นไป นายพรานพร้อมครอบครัวถึงกับได้เข้าไปอยู่ที่คฤหาสน์ เพราะด้วยวาจาของตน
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - อธิษฐานบารมี
การอธิษฐานนี้ เป็นบารมีอย่างหนึ่ง ที่เราต้องทำให้สม่ำเสมอทุกๆ วัน การอธิษฐานที่ถูกวิธี ไม่ใช่ไปอธิษฐานกับภูเขาต้นไม้ ทรงเจ้าเข้าผี หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แต่ให้ระลึกนึกถึงบุญกุศลความบริสุทธิ์ ที่เราได้สั่งสมมานับภพนับชาติไม่ถ้วน อีกทั้งอานุภาพของพระรัตนตรัยที่ไม่มีประมาณ นึกถึงสิ่งประเสริฐเหล่านี้ แล้วอธิษฐานจิตตั้งความปรารถนาในสิ่งที่ดีงาม เราจะสมปรารถนาในที่สุด
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - ตั้งเป้าหมายชีวิต ลิขิตอนาคต
ถ้าตัวเองยังไม่มีศรัทธา ก็ตั้งตนไว้ในศรัทธา ถ้าตัวเองเป็นคนตระหนี่ ก็ตั้งเป้าหมายทำทานให้ได้สม่ำเสมอ ถ้าตัวเองยังไม่มีศีล ก็ตั้งเป้าหมายให้รักษาศีลได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ดังเช่นโจรที่กลับตัวกลับใจ ปรับแนวทางชีวิตของตน ให้มุ่งตรงต่อสวรรค์นิพพานได้ทัน ดังเรื่องมีอยู่ว่า